โรงพยาบาลสมัยก่อน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลศิริราช
ประเภท โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง 26 เมษายน พ.ศ. 2431
สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้อำนวยการ ผศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
จำนวนเตียง 2,265
เว็บไซต์ www.si.mahidol.ac.th
โรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 อาคารที่สำคัญ
3 อ้างอิง
4 ดูเพิ่ม
5 แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติ[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นอยู่ที่ต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริธัชสังกาศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฏางค์ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี เจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี และดอกเตอร์ ปีเตอร์ เคาแวน ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลเพื่อพระราชทานให้เป็นสถานที่รักษาแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลนั้น อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง ซึ่งเป็นวังเดิมของกร

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น